รีวิว Spider-Man : No Way Home

รีวิว Spider-Man : No Way Home เป็นครั้งแรกที่ ‘สไปเดอร์แมน’ ไม่ต้องซ่อนอยู่หลังหน้ากากอีกต่อไป และเขาไม่สามารถแยกชีวิตของเขาในฐานะซูเปอร์ฮีโร่ออกจากชีวิตปกติของเขาได้อีกต่อไป เมื่อเขาไปขอความช่วยเหลือจากหมอสเตรนจ์ แต่ปรากฏว่าวุ่นวายกว่าเดิม บังคับให้เขาค้นหาวิธีแก้ปัญหาและค้นหาความหมายของการเป็นสไปเดอร์แมน ภาพยนตร์เรื่องนี้จะเปิดตัว Multiverse อย่างเป็นทางการในจักรวาล Marvel โดยมีผู้ร้ายจากทั้ง ‘Spider-Man’ และ ‘The Amazing Spider-Man’ ก็ปรากฏตัวเช่นกัน

ดูเหมือนว่าชะตากรรมของเพื่อนบ้านแสนดี ‘สไปเดอร์แมน’ จะเริ่มขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ทุกครั้ง หลังจากรับหน้าที่ฮีโร่ระดับสองในสองภาคที่แล้ว ภาคนี้เป็นหนังช่วงเริ่มต้นของ MCU 4 ที่กำลังก้าวไปข้างหน้ากับเรื่องราวของ ‘หลายจักรวาล’ หรือ ‘ลิขสิทธิ์’ (ลิขสิทธิ์) เพื่อขยายขอบเขตการเล่าเรื่องให้กว้างกว่าแนวแอ็คชั่นแบบดั้งเดิม ขณะนี้มีซีรีส์บน Disney+ ที่เป็นรากฐานของเรื่องราวนี้ ทั้ง ‘Loki’ และซีรีส์แอนิเมชัน ‘What If…? ‘ ซึ่งทั้งสองสรุปได้อย่างชัดเจน ลิขสิทธิ์คือเลือดหลักและความโกลาหลที่เหล่าฮีโร่ต้องเผชิญ ในหนังเรื่องนี้ ดูเหมือนว่าความวุ่นวายได้ก่อตัวขึ้นอย่างชัดเจน และสไปเดอร์แมนก็ถือเป็นหนึ่งในฮีโร่กลุ่มแรก ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากความวุ่นวายนี้อย่างชัดเจน

ส่วนเนื้อเรื่องในภาคนี้จะต่อจาก End Credits ตัวแรกที่ทิ้งไว้ในภาคที่แล้ว (Spider-Man : Far From Home (2019)) ซึ่งถ้าใครยังไม่ได้ดู ต้องขอเบรคไปดูก่อน (สามารถรับชมได้ทั้งสองภาคบน HBO GO) เพราะเรื่องราวของภาคนี้จะเริ่มต้นจาก End Credits นั้น หลังจากที่ Spider-Man สามารถโค่น ‘Mysterio’ (เจค จิลเลนฮาล) ได้สำเร็จ

จากนั้น Mysterio ก็เริ่มต้นการโจมตีครั้งสุดท้ายด้วยการปล่อยคลิปข่าวเท็จบนหน้าจอ LED โดยกล่าวหาว่า Peter สังหารเขาอย่างไร้ความปราณี กล่าวหาว่าปีเตอร์โอ้อวดเกี่ยวกับการเป็นไอรอนแมนคนต่อไป ข่าวนี้ก็ไปถึงหูของ ‘J. โจนาห์ เจมสัน (เจ.เค. ซิมมอนส์) นักข่าวสำนักข่าวออนไลน์ TheDailyBugle.net เปิดเผย (จากข้อมูลของ Mysterio) จนคนทั้งโลกรู้ว่า Spider-Man คือ Peter Parker
และในภาคนี้แน่นอน ปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ เพื่อนบ้านแสนดี การถูกตีตราด้วยข่าวปลอมทำให้ชีวิตยากขึ้นกว่าเดิม แถมยังพาคนรอบข้างทั้งคนรักอย่าง ‘เอ็มเจ’ (เซนดายา) เพื่อนสนิทอย่างกี๊กส์อย่าง ‘เน็ด ลีดส์’ (จาค็อบ บาทาลอน) และ ‘ป้าเมย์’ (มาริสา โทเมอิ) ล้วนประสบปัญหา ปีเตอร์ก็ถูกบังคับให้ไปหาหมอสเตรนจ์เพื่อขอความช่วยเหลือเช่นกัน ‘ด็อกเตอร์ สเตรนจ์’ (เบเนดิกต์ คัมเบอร์แบตช์) เพื่อช่วยร่ายมนตร์เพื่อลบความทรงจำของผู้คนเกี่ยวกับปีเตอร์ ปาร์คเกอร์คือสไปเดอร์แมน แต่มีข้อผิดพลาดอยู่บ้าง ผลก็คือมีตัวร้ายจากลิขสิทธิ์เข้ามาขัดขวางโลกของปีเตอร์ ปาร์กเกอร์กลายเป็นเรื่องใหญ่ในจักรวาล

แฟนเซอร์วิส สุดๆ รีวิว Spider-Man : No Way Home

รีวิว Spider-Man : No Way Home ในแง่ของการดำเนินเรื่อง ในภาคนี้ก็ยังคงมีรสชาติ กลิ่นอาย และธีมของหนังจากภาคก่อน ๆ อยู่นะครับ โดยเฉพาะองก์แรก ซึ่งผู้กำกับอย่าง ‘จอน วัตต์ส’ (Jon Watts) ที่รับเหมากำกับแฟรนไชส์หนังชุดนี้มาจนกลายเป็นไตรภาคแล้ว ก็ยังคงคุมสีสันความเป็นหนังวัยรุ่นที่แฝงเรื่องราวแบบฉบับของวัยว้าวุ่น สิบห้าหยก ๆ สิบหกหย่อน ๆ มุกฮา ๆ วีรกรรมห่าม ๆ และหนังสไตล์ Coming Of Age ซึ่งพอมาถึงภาคนี้ ต้องชื่นชมวิธีการเล่าเรื่องเป็นอย่างแรกเลยครับ เพราะว่าตัวหนังสามารถไต่ระดับการเล่าจากเล็กไปหาใหญ่ และใหญ่ระดับจักรวาลได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนมาก นั่นอาจจะทำให้การเดินเรื่องในองก์แรกช้าอยู่บ้าง โดยมีฉากแอ็กชันคอยกระตุ้นกราฟอยู่เนือง ๆ แต่ตัวบทก็ถือว่าทำได้ฉลาดและไหลลื่นไม่สะดุดตรงไหนให้กวนใจเลย

รวมทั้งการที่ตัวบทเริ่มจะกระชับพื้นที่โดยไม่ไปเล่าถึงตัวละครและภารกิจอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นฮีโรของปีเตอร์มากนักเหมือนอย่างในภาคที่แล้ว ทำให้ตัวหนังจะเริ่มโฟกัสเฉพาะภารกิจของปีเตอร์ เอ็มเจ เน็ด หมอแปลก เหล่าวายร้ายทั้ง 5 และป้าเมย์เท่านั้น อีกจุดที่ถือว่าฉลาดคือ ต่อให้ตัวหนังในครึ่งหลังจะเริ่มบิดไปเป็นหนังแอ็กชันแบบเต็มสูบ แต่หนังก็ยังรักษาแกนการเล่าเรื่องแบบ Coming Of Age ที่แข็งแกร่งเอาไว้ได้อยู่ นั่นก็คือเรื่องของการพยายามจะลบความทรงจำของผู้คนนั่นเอง เพราะนอกจากปีเตอร์จะต้องรับผลพวงจากความผิดพลาดจากการร่ายมนต์แล้ว เขายังต้องรับผลพวงใหญ่ในการบังอาจไปแทรกแซงมัลติเวิร์ส และตอนท้ายก็ลากเส้นมาขมวดจบที่ปีเตอร์เองก็ต้องยอมรับผลกระทบที่เกิดจากการพยายามลบความทรงจำนั้นด้วย

Coming Of Age ในคราวนี้จึงไม่ใช่แค่การต่อสู้กับวายร้ายเท่านั้น แต่ยังต้องยอมรับทางเลือกที่เขาเองได้เลือกไว้ด้วย ซึ่งตรงนี้ต้องขอชื่นชมว่าสามารถคงแก่นแกนนี้เอาไว้ได้อย่างครบถ้วน ปูเรื่องและตามมาเก็บกลับได้อย่างสะเทือนใจเรียกน้ำตามาก ๆ แถมยังเป็นการทิ้งท้ายได้อย่างน่าสนใจและน่าคิดต่อไปด้วยว่า จากนี้ ชีวิตของปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ ที่เลือกเส้นทางนี้และยอมรับผลของมันแต่โดยดี จะยังคงดำเนินชีวิตในฐานะปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ และในฐานะสไปเดอร์-แมนต่อไปได้อย่างไร ภายใต้บทสรุปชีวิตโคตรจะสะเทือนใจขนาดนั้น

และสำหรับใครที่เป็นพ่อยกแม่ยกน้องทอม ฮอลแลนด์ ก็ต้องขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่งนะครับ เพราะว่าในภาคนี้ น้องทอมโตแล้ว การแสดงของทอม ฮอลแลนด์ในภาคนี้ถือว่ากินขาดและเป็น MVP ของหนังจริง ๆ ฝีมือการแสดงและการแสดงอารมณ์สะเทือนใจในเรื่องนี้ของเขาเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นเลยว่า น้องทอมโตขึ้นจนสามารถเห็นริ้วรอยความสับสนในชีวิตช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ จากวัยรุ่นมัธยมสู่วัยมหาวิทยาลัย และโตขึ้นท่ามกลางความรับผิดชอบของสไปเดอร์-แมนที่ใหญ่ขึ้น (และจะใหญ่ยิ่งขึ้นกว่านี้แน่นอน) ของปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ได้อย่างแท้จริง จนผู้เขียนแอบเชื่อไปแล้วว่า หลังจบไตรภาคนี้ ทอม ฮอลแลนด์ จะมีภาพการเป็นสไปเดอร์-แมนแบบติดหนึบแยกไม่ออก (แบบเดียวกับที่ป๋าโรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ ชอบโดนเรียกว่าไอรอนแมนนั่นแหละครับ)

สรุป

นอกจากน้องทอม และทีมนักแสดงรอบข้าง ผู้เขียนเองก็ต้องชื่นชมเหล่าน้า ๆ 5 วายร้าย ที่กลับมารับบทตัวร้ายที่ทะลุจักรวาลมานะครับ แม้ว่าเวอร์ชันดั้งเดิมของพวกเขาจะห่างจากหนังเรื่องนี้ไปนับสิบ ๆ ปี แต่พวกเขาก็สามารถกลับมาสวมตัวร้ายที่ตัวเองเคยรับบทบาทเอาได้อย่างไม่ทิ้งลายจริง ๆ และที่สำคัญคือ การวางบทบาทให้ตัวละครทั้งห้า ในพล็อตที่มีตัวละครยุ่บยั่บวุ่นวายไปหมด แต่ตัวละครทั้งหมดถูกจัดสรรปันส่วนได้ออกมาดีมาก ๆ และแปลกมากที่ไม่ได้ไปแย่งซีนสไปดีน้องทอมเลยแม้แต่น้อย แต่ถ้าให้เลือกว่าคนไหนท็อปสุด ผู้เขียนขอยกให้คุณน้า ‘Willem Dafoe’ เจ้าของบท ‘กรีน ก็อบลิน’ ครับ แม้ว่าจะชราไปตามวัยบ้าง แต่ก็ยังสามารถรับบทวายร้ายจิตหลุดได้น่ากลัวมาก ๆ เหมือนที่เคยดูใน ‘Spider-man’ (2002) อย่างไรอย่างนั้นเเลย

และที่เรียกได้ว่าเป็นไฮไลต์ของหนังเรื่องนี้ก็คือมุกฮา ๆ ครับ ในภาคนี้ต้องเรียกได้ว่าใส่มุกฮาและตลกร้ายจังหวะนรกมาได้อย่างร้ายกาจมาก และโดยเฉพาะมุกมาจากมัลติเวิร์ส ซึ่งก็จะมีการสอดแทรกบทที่เกี่ยวพันกับหนังไอ้แมงมุมคลาสสิกทั้งสองเวอร์ชัน เรียกว่าเป็นมุกที่เรียกเสียงฮาเอาใจแฟนบอยโดยเฉพาะเลย ทั้งมุกคำพูดที่อ้างเอ่ยถึง รวมถึงการแอบใส่ซีนที่ใช้แรงบันดาลใจจากหนังเวอร์ชันคลาสสิก (ที่แฟนบอยดูแล้วเก็ตแน่นอน) รวมทั้งเซอร์ไพรส์อื่นอีกต่าง ๆ นานาที่เรียกได้ว่าเยอะมากในระดับที่จะทำให้แฟน ๆ สไปดีดูแล้วกรี๊ดแตกได้อย่างแน่นอน

จริง ๆ ถ้าจะมีข้อสังเกตอยู่บ้าง ก็ถือว่าเป็นจุดเล็ก ๆ น้อย ๆ นะครับ อย่างแรกคือ ตัวบทสามารถไล่พล็อตจากเล็กไปหาใหญ่ได้ดีมาก ๆ เพราะฉะนั้นมันก็แอบจะเลี่ยงไม่ได้อยู่เหมือนกันที่จะทำให้การดำเนินเรื่องในองก์แรกนั้นค่อนข้างค่อยเป็นค่อยไปอยู่สักหน่อย แม้ว่าจะมีฉากแอ็กชันคอยกระตุกกราฟอยู่บ้าง แต่ตัวเรื่องในองก์แรกก็ถือว่าค่อนข้างช้าเลยแหละ ซึ่งมันก็คงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ภาคนี้ยาวที่สุดถึง 2 ชั่วโมงครึ่ง สองคือ ตัวฉากแอ็กชันครับ จริง ๆ โดยรวมก็ถือว่าเป็นฉากแอ็กชันที่ทำได้ดีงามตามมาตรฐานของ จอน วัตต์ส ที่ทำไว้กับทั้งสองภาคนะครับ เพียงแต่ว่าอาจจะไม่ถึงกับว้าวซ่าอะไรขนาดนั้น ส่วนตัวผู้เขียนแอบชอบการเผชิญหน้าระหว่างสไปดีกับหมอแปลกมากกว่าแฮะ

โดยภาพรวม ‘Spider-Man : No Way Home’ ยังคงรักษามาตรฐานของหนังฮีโรในแบบฉบับของ Marvel ได้อย่างครบถ้วน แต่นอกจากหนังเรื่องนี้จะเป็นหมุดหมายสำคัญของการเดินทางสู่มัลติเวิร์สอย่างเต็มตัวแล้ว หนังเรื่องนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นหนังที่แฟนบอย สไปเดอร์-แมนไปดูยังไงก็ไม่ผิดหวังครับ เพราะนอกจากเรื่องราวที่โตขึ้นและการที่เราจะได้เห็นพัฒนาการ และจังหวะหัวเลี้ยวหัวต่อชีวิตของปีเตอร์ ปาร์กเกอร์ ที่กลายเป็นซูเปอร์ฮีโรแบบเต็มตัว และเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนมาก ๆรีวิว Spider-Man : No Way Home

บทความที่เกี่ยวข้อง